การสร้างเว็บไซต์ wordPress
WordPress
คือ โปรแกรมสำเร็จรูปที่มีไว้เพื่อสร้างและจัดการเนื้อหาบนอินเตอร์เน็ต ( Contents Management System หรือ CMS) กล่าวคือ แทนที่เราจะดาวโหลดโปรแกรมมาทำการสร้างและออกแบบเว็บไซต์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราอย่างเช่น Macromedia Dreamwaver, Microsoft Fontpage (มีใครทันรึเปล่า) เป็นต้น แต่ CMS นั้นถูกสร้างมาเพื่อใช้งานบนอินเตอร์เน็ตโดยตรง หมายความว่าเมื่อคุณจะใช้งานโปรแกรมนี้ คุณก็สามารถใช้ได้ทันทีผ่านอินเตอร์เน็ต เพียงแค่คุณล็อกอินเข้าสู่ระบบจัดการของ CMS นั้นๆ บางคนอาจจะคุ้นหูกับ cms เจ้าอื่น เช่น joomla, simple machines, open cart, magento เป็นต้น
ข้อดีของ CMS ก็คือ สะดวกต่อการใช้งาน คุณไม่ต้องเริ่มสร้างเว็บจาก 0 ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางโปรแกรมเมอร์ เพราะระบบมีทุกอย่างไว้ให้ คุณมีหน้าที่เพียงแค่ใส่เนื้อหาของคุณเข้าไป
ข้อเสียของ CMS คือ บางครั้งก็อาจมีมากเกินความจำเป็น
แม้แต่ CNN และ NASA ก็ยังใช้ WordPress แล้วคุณจะรู้ว่ามันไม่ยากเลย อย่าเพิ่งตกใจ
ขั้นตอนหลักๆ ของการสร้างเว็บไซต์ด้วย WordPress นั้นก็ง่ายๆ ค่ะ
- คิดก่อนว่าคุณจะทำเว็บไซต์อะไร
- หาธีมที่คุณชอบ
- ติดตั้ง WordPress และ ติดตั้งธีม
- ติดตั้งปลั๊กอินเสริม (หากจำเป็น)
คุณสามารถอ่านเรื่องเกี่ยวกับ Theme WordPress ได้ที่นี่ การเลือกธีมที่ดีจะส่งผลถึงอนาคตของเว็บไซต์ ช่วยตัดเรื่องจุกจิกบางอย่าง บางธีมมีหลายฟังชั่นจนทำให้คุณไม่จำเป็นต้องลงปลั๊กอินเสริมหลายตัว หรือหากคุณต้องการทำเว็บที่เรียบง่าย ก็ไม่จำเป็นต้องเลือกธีมที่่มีลูกเล่นหลากหลาย แต่โฟกัสไปที่เนื้อหาแทน
WordPress เหมาะกับเว็บไซต์แบบไหน
จริงๆ แล้ว WordPress เหมาะกับการทำเว็บไซต์ทุกแบบ แต่บางแบบนั้นเราอาจต้องรู้ลึกซึ้งหรือมีพื้นฐานทางด้านโปรแกรมเมอร์ด้วย ดังนั้น ณ ที่นี้เราจะขอพูดในแง่ของ Beginner จริงๆ เพราะ CMS แต่ละตัวนั้นก็มีจุดเด่นแตกต่างการ เว็บเหล่านี้เป็นเว็บที่เหมาะกับการใช้งาน WordPress ค่ะ
- เว็บบล็อก เหมาะมากสุดๆ
- เว็บ Article เขียนบทความต่างๆ
- เว็บข่าว เว็บวาไรตี้ การจัดหมวดหมู่และแท็ก ( Categories, Tags ) ใน WordPress นั้นช่วยได้ง่ายมากๆ
- เว็บ Portfolio เป็นผลมาจากการผสมเว็บบล็อก + Custom post type แบบ Portfolio ทำให้เกิด Post 2 ลักษณะนำมาใช้งานร่วมกัน
- เว็บบริษัท company, business, corporate คล้ายๆ กับด้านบน เป็นความยืดหยุ่นที่ WordPress นั้นสามารถสร้าง Custom post type ได้ไม่จำกัด ทำให้คุณสามารถทำเว็บบริษัทที่มีทั้ง blog, staff, feature, project, portfolio, testimonial เป็นต้น
- เว็บไซต์ e-commerce ขายเสื้อผ้า ปลากระป๋อง หรืออะไรก็แล้วแต่
- นอกจากนี้ WordPress ยังสามารถสร้างเว็บบอร์ด และเว็บ community ได้ด้วย แต่ยังต้องอาศัยทักษะพอสมควร เพื่อปรับแต่งปลั๊กอินให้ออกมาเป็นหน้าตาตามที่ต้องการ
ลองดู
WordPress.com และ WordPress.org
มาถึงตอนนี้ หลายคนอาจสงสัยและเริ่มเสริชคำว่า WordPress ซึ่งตอนนั้นท่านอาจงงกับสิ่งที่เห็น ว่าทำไมมันมีทั้ง wordpress.com และ wordpress.org
wordpress.com นั้นก็เปรียบเทียบได้กับ blogspot ของ google, bloggang ของ pantip นั่นเอง คือเป็นพื้นที่สำหรับเขียนบล็อกฟรี เราเพียงแค่เข้าไปลงทะเบียน แล้วก็จะได้ url เป็น http://ชื่อบล็อกเรา.wordpress.com แล้วก็เลือกธีมและพร้อมใช้งานได้เลย โดยจะมีพื้นที่ให้ใช้งานถึง 30GB สามารถซื้อโดเมน .com, .net หรืออะไรก็แล้วแต่ มาครอบเป็นชื่อเว็บของตัวเองได้เลย แต่ข้อจำกัดของการใช้บล็อกฟรีของ wordpress.com นี้คือ เราไม่สามารถที่จะทำการแก้ไขเทมเพลตด้วยตัวเราเองได้ หรือแม้แต่การแก้ไขดีไซน์ในส่วนของ CSS ก็ต้องเสียเงินจ่ายเพิ่มเป็นค่าบริการ $30/ปี และไม่สามารถลงปลั๊กอินเสริมอื่นๆ ที่เป็นจุดเด่นและข้อแตกต่างมากที่สุดของ wordpress.com และ wordpress.org และยังไม่สามารถสร้างรายได้จาก adsense ของ google ได้เหมือนกับการสร้างบล็อกที่ blogspot
wordpress.org นั้นเป็น CMS ก็เหมือนการสกัดเอาตัวเครื่องในของ wordpress.com ออกมาให้เราใช้ต่างหาก โดยผู้ใช้เพียงแต่หา Hosting เป็นของตัวเอง จากนั้นก็นำตัว wordpress.org นี้ ไปติดตั้งที่โฮ้ส ก็จะได้หน้าตาออกมาเหมือนกับตัว wordpress.com แทบจะทุกประการ เพียงแต่หากเราอยากได้ธีมอะไร ปลั๊กอินตัวไหน ก็สามารถติดตั้งเข้าไปภายหลังได้ มีอิสระในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่างได้แบบ 100% เท่าที่เราจะสามารถ
ความแตกต่าง
ตอนแรกว่าจะทำตารางเปรียบเทียบความแตกต่าง ระหว่าง wordpress.com และ wordpress.org แต่จริงๆ แล้วพอจะสรุปสั้นๆ เกี่ยวกับความต่างของ 2 ตัวนี้ ที่สำคัญเลยดังต่อไปนี้
ด้านค่าใช้จ่าย
wordpress.com ไม่เสียค่าใช้จ่ายในส่วนของ Hosting แต่เสียค่าใช้จ่ายในส่วนของการปรับแต่ง Theme (เฉพาะ CSS)
wordpress.org เสียค่าใช้จ่ายในส่วนของ Hosting ที่เราต้องหาเอง แต่สามารถปรับแต่ง Theme ได้แบบเต็มรูปแบบ
ด้านการใช้งาน
wordpress.com ไม่สามารถลงปลั๊กอินใดๆ เพิ่มได้ Theme มีให้เลือกจำนวนจำกัด
wordpress.org สามารถลงปลั๊กอินใดๆ เพิ่มก็ได้ ลงธีมใดๆ ก็ได้ ซึ่งจุดเด่นของ WordPress ก็คือ Theme และ Plugin นี้เอง ปลั๊กอินและธีมมีเป็นหมื่นเป็นแสนให้เลือก ในขณะที่ wordpress.com ไม่มีปลั๊กอิน และมีธีมเพียงไม่กี่ร้อยธีมเท่านั้น
การติดตั้งธีมจาก Server ของ wordpress.org
วิธีนี้ดี สะดวก ง่าย และปลอดภัย ค่ะ เพราะสามารถติดตั้งผ่านหน้าควบคุม (Dashboard) ของ WordPress ได้เลย ธีมที่โหลดโดยตรงจาก wordpress.org จะเป็นธีมฟรีทั้งหมด และปลอดภัยพอสมควร ดีกว่าโหลดจากแหล่งโหลดเถื่อนที่เราไม่รู้ที่มาที่ไป สามารถที่จะเลือกคุณสมบัติของธีมที่ต้องการค้นหาเพื่อให้ตรงกับความต้องการของเรามากที่สุด
วิธีการติดตั้ง
- ไปที่เมนู รูปแบบบล็อก > Theme (Appearance > Theme)
- คลิกที่คำว่า เพิ่มใหม่ (Add)
- จะมีธีมมากมายมาให้เราเลือก เราสามารถคลิกที่ ตัวกรอง Feature (Feature Filter) เพื่อคัดเลือกคุณสมบัติของธีมที่ต้องการได้
- คลิกที่ ติดตั้ง (install) หรือ ดูก่อน (Preview) เพื่อดูตัวอย่างของธีมก็ได้ (การดูตัวอย่างธีมอาจจะไม่ได้เหมือนกับในภาพ เพราะตัวอย่างอาจจะยังไม่ได้เซ็ทค่าภายใน Theme Option ของธีมนั้นๆ เสียก่อน)
- เสร็จแล้วให้เลือกตัวเลือก ดูแบบเสมือนจริง (Preview) | เปิดใช้งาน (Active) | กลับไปที่ตัวติดตั้ง Theme (Return to Theme installer)
- ซึ่งหากกลับมาที่หน้าติดตั้งธีมก็จะเห็นข้อความบอกว่าธีมได้ติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว
- เมื่อกลับมาที่หน้า Theme (Appearance > Theme) ก็จะเห็นธีมที่เราเพิ่งติดตั้งพร้อมใช้งาน
การติดตั้งธีม WordPress จากแหล่งภายนอกด้วยการอัพโหลด
ขั้นตอนแรกเราก็ต้องมีตัวไฟล์ธีมเสียก่อนนะคะ หาได้จากเว็บไซต์ทั่วไป ไม่ว่าจะแบบฟรีหรือเสียตังค์ค่ะ
ซึ่งไฟล์ที่ได้มาก็จะเป็นไฟล์ .zip นะคะ ซึ่งปกตินั้นจะสามารถติดตั้งได้เลยทันทีค่ะ
วิธีการติดตั้ง
- วิธีนี้ดี สะดวก ง่าย และปลอดภัย ค่ะ เพราะสามารถติดตั้งผ่านหน้าควบคุม (Dashboard) ของ WordPress ได้เลย โดยการไปที่เมนู รูปแบบบล็อก > Theme (Appearance > Theme)
- คลิกที่คำว่า เพิ่มใหม่ (Add)
- คลิกที่ปุ่ม อัพโหลด Theme (Upload Theme)
- คลิกที่ปุ่ม Choose file เมื่อเลือกไฟล์เสร็จแล้วก็กดที่ ติดตั้งตอนนี้ ได้เลยค่ะ
- เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว ระบบจะถามว่าเราจะทำอะไร ถ้าจะเริ่มใช้งานเลยก็ให้คลิก เปิดใช้งาน (Active) ได้เลยค่ะ
- เมื่อกลับไปสู่หน้าธีมใน รูปแบบบล็อก (Appearance) > Theme ก็จะเจอกับธีมที่เราเพิ่งติดตั้งไปค่ะ
ปัญหาการติดตั้งธีม “ไม่พบไฟล์ style.css”
ปัญหานี้เกิดจากธีมที่เราได้ทำการดาวน์โหลดมานั้น ผู้เขียนธีมได้จัดการซิปไฟล์ .zip ของธีมมาร่วมกับไฟล์อื่นๆ เหตุผลก็เพื่อบรรจุไฟล์อื่นๆ เกี่ยวกับธีมมาด้วย เพื่อความสะดวกของผู้ใช้งาน เช่นไฟล์ document ที่เป็นคู่มือการใช้ธีม ไฟล์ .psd ซึ่งเป็นไฟล์ Photoshop ที่ใช้ในการออกแบบธีม หรือใส่โฟลเดอร์ไฟล์สำหรับคนที่ทำงานบน Mac ได้ไว้ปรับแต่ง เป็นต้น ปกติแล้วจะเจอแบบนี้ประจำเมื่อเราใช้ธีมประเภท จ่ายตังค์ ต่างจากธีมฟรีทั่วไปที่จะได้เฉพาะตัวธีมเดี่ยวๆ หากต้องการอ่าน document ก็ให้ไปหาอ่านบนเว็บของผู้เขียนธีมอีกที
ภาษาอังกฤษ
The package could not be installed. The theme is missing the style.css stylesheet.
วิธีการแก้ปัญหาทำได้ 2 วิธีดังนี้คือ
แก้ไขด้วยการซิปใหม่
- ทำการแตกไฟล์ .zip ที่เราดาวน์โหลดมาเสียก่อน (ต้องมีโปรแกรมแตกไฟล์ .zip ในเครื่องก่อนนะคะ)
- คลิกเข้าไปในโฟลเดอร์ที่เราได้ทำการแตกไว้เรียบร้อยแล้ว ในนั้นอาจจะมีอีกหลายโฟลเดอร์ ให้เราคลิกเข้าไปเรื่อยๆ จนเจอกับโฟลเดอร์ที่ประกอบด้วยไฟล์เหล่านี้ ซึ่งเป็นไฟล์ธีมของ WordPress (ปกติชื่อโฟลเดอร์จะเป็นชื่อเดียวกับชื่อธีมที่ดาวน์โหลด)
- ทำการซิปโฟลเดอร์นี้ด้วยการถอยกลับไปหนึ่งชั้นเพื่อไปยังโฟลเดอร์หลักของไฟล์เหล่านี้แล้วทำการ zip (บีบอัด) โฟลเดอร์นั้น (เตยใช้ 7-Zip เนื่องจากเป็น Open-Source ไม่เสียเงินและเล็กกระทัดรัดค่ะ ดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ของ 7-Zip
- เสร็จแล้วก็ทำการอัพโหลดได้ตามปกติ โดยเมื่อทำการอัพโหลดก็ให้คลิกเข้าไปเลือกไฟล์ที่เราเพิ่งทำการซิปเมื่อกี้นี้ค่ะ
การอัพโหลดผ่านโปรแกรม FTP
- ศึกษาวิธีการใช้งานโปรแกรม FTP อย่าง FileZilla
- ทำการอัพโหลดโฟลเดอร์ที่มีไฟล์ธีมของ WordPress ขึ้นไปยังโฮ้สโดยตรง โดยที่โฮ้สนั้นจะอยู่ในโฟลเดอร์ wp-content/themes/ ให้ทำการลากมาวางที่ปลายทางได้เลยค่ะ
ทั้งสองวิธีนี้ เมื่อทำการเข้าดูธีมทั้งหมดโดยเมนู รูปแบบบบล็อก > Theme ก็จะได้ผลลัพธ์เช่นเดียวกันนี้ค่ะ
การลบธีม
ให้เราไปที่หน้าธีม แล้วชี้ไปที่ธีมที่ต้องการลบ แล้วคลิก รายละเอียด Theme
ที่ด้านขวาล่างจะมีปุ่มให้เรากดลบได้เลยค่ะ
หากต้องการที่จะอัพเดท Theme อ่าน
ข้อสังเกตุ
ไฟล์ธีมที่จะอัพโหลดขึ้น WordPress ผ่านทาง dashboard นั้นจะต้องเป็นไฟล์ .zip เท่านั้น และจะต้องเป็นซิปของธีมล้วนๆ เท่านั้ นไม่เช่นนั้นจะเกิดปัญหาไม่พบ style.css สังเกตุได้ง่ายๆ จากขนาดไฟล์ค่ะ ถ้าไฟล์ธีมจะมีขนาดเล็กนิดเดียว ไม่กี่ร้อย kb ค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจากเว็บ http://www.wpthaiuser.com/how-to-install-wordpress-theme-and-style-css-is-missing/