ศูนย์วิจัยหลวงเชียงใหม่

ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง)

ตั้งอยู่ที่ บ้านขุนวาง หมู่ 12 ต. แม่วิน อ. แม่วาง ในแนวเทือกเขาอินทนนท์ ห่างจากถนนสายหลักเข้าไปถึง 16 กิโลเมตร

ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง) ตั้งอยู่บนดอยอินทนนท์ ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2525 ครั้งนั้น พระบาท สมเด็จพระเจ้า อยู่หัวเด็จพระราชดำเนินไปยังบ้านขุนวางเป็นครั้งแรก ทรงทอดพระเนตรเห็นว่า บริเวณนี้ยังคงมีการปลูกพืชเสพติด เช่น ฝิ่น อยู่เป็นจำนวนมาก จึงเห็นควรส่งเสริมให้มีการปลูกพืชชนิดอื่นๆ ที่มีรายได้ทัดเทียมหรือดีกว่าปลูกฝิ่น จึงรับสั่งให้หน่วยงาน ในพื้นที่ช่วยกันพิจารณาปรับปรุงและพัฒนา ซึ่งในครั้งนั้นเอกอัครราชทูตอเมริกาได้รับสนองนโยบาย โดยให้การสนับสนุนงาน ประมาณสมทบ จากนั้นศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง) จึงได้เริ่มต้นดำเนินงานอย่างจริงจังในปีพ.ศ. 2528สภาพพื้นที่ ของ โครงการ ส่วนใหญ่ถูกโอบล้อมด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อน มีแอ่งที่ราบระหว่างภูเขาเพียงเล็กน้อย อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลราว 1,300 – 1,400 เมตร มีแม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่านคือ แม่น้ำขุนวางขวา และแม่น้ำขุนวางซ้าย ประชากรในพื้นที่เป็นชาวเขา เผ่ากระเหรี่ยง และม้ง รวมทั้งสิ้น 7 หมู่บ้าน ขึ้นอยู่กับตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ในความรับผิดชอบ ทั้งสิ้นราว 29,304.90 ไร่ โดยแบ่งพื้นที่ในการดำเนินการของโครงการประมาณ 30 ไร่

 

ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง)แบ่งขอบเขตการทำงานออกเป็น งานวิจัยไม้ดอก ไม้ผลและพันธุ์ไม้ เช่น คาร์เนชั่น องุ่น สตอเบอร์รี่ เฟินและลินิน ผสมผสานไปกับงานพัฒนาด้านการเกษตรในเรื่องการปลูกกาแฟ เพื่อเพิ่มผลผลิตมากที่สุด   นอกจากนี้ยังมีการทำแปลงสาธิตเพื่อรวมสายพันธุ์ชนิดต่างๆทั้งไม้ดอก ไม้ผล ผักและชาจีน ตลอดจนงานขยายพันธุ์คาร์เนชั่น ลิอะทริส หน้าวัว แวกซ์ฟลาวเวอร์ แคลลี่ลิลี่ อัลสโตรมีเรีย และเฟิน  งานส่งเสริมพืชผักเมืองหนาว ให้คำแนะนำและให้ความรู้แก่เกษตรกรในการปลูกและขายกะหล่ำปลี กะหล่ำดาว การปลูกหอมญี่ปุ่น และกระเทียมต้น วิธีการบำรุงรักษาต้นไว้ไม่เก็บเกี่ยวในขณะที่มีราคาต่ำ การปลูกผักกาดหอมห่อ แตงกวายาว ซุกินี และฟักทอง ญี่ปุ่น ถั่วลันเตา ผักกาดหอมใบแดง และพริกยักษ์เขียว เหลือ แดง นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมไม้ผลเมืองหนาว โดยได้รับการ สนับสนุนจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญจากไต้หวันได้แก่ ท้อ แอปเปิ้ล สาลี่ บ๊วย พลับ พลัม และเสาวรส งานหลักที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง คือการส่งเสริมงานหัตถกรรมพื้นบ้านจากเส้นใยกัญชา เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชาวเขาในชุมชน

 

 

ขอขอบคุณ   ศูนย์วิจัยเชียงใหม่

http://www.paiduaykan.com/province/south/ranong/khophayam.html

 

 

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *