หาดยาวใหญ่
ความเป็นมาในอดีต สัณนิฐานว่า คนกลุ่มแรกที่เดินทางมาตั้งหมู่บ้านในเกาะยาวเป็นชาวประมงซึ่งออกเดินทางเร่ ร่อนทำการประมงในทะเลอันดามัน เมื่อถึงหน้ามรสุมจึงหาสถานที่เพื่อหลบคลื่นลม เมื่อพบพื้นที่อุดมสมบูรณ์ จึงตั้งบ้านเรือน และชวนกันอพยพมาตั้งบ้านเรือน สร้างเรือกสวนไร่นา ที่ทำมาหากิน คนกลุ่มแรก หัวหน้ากลุ่ม คือ โต๊ะหลวงชิต (มโนห์รายอดทอง) และโต๊ะแม่ฝ้าย อพยพมาจากจังหวัดตรังในราว พ.ศ. 2270 และประมาณปี พ.ศ. 2328 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช กองทัพเรือของพระเจ้าปะดุงแห่งหงสาวดีบุกเข้าโจมตี เมืองถลาง ในศึกถลางครานั้นไม่เพียงแต่ชาวถลางเท่านั้นที่ลุกขึ้นต่อสู้ป้องกันเมือง ยังมีกองทัพหัวเมืองทางภาคใต้ เช่น เมืองนคร เมืองไทรบุรี ร่วมกับกองทัพของกรุงเทพฯ ยกกองทัพมาช่วยเมืองถลาง ซึ่งในการเดินทางของกองทัพนั้นไม่สามารถที่จะเดินข้ามไปยังเมืองถลางผ่านทาง ช่องแคบปากพระ(ช่องแคบสะพานสารสิน)ได้ เพราะมีกองทัพพม่าเฝ้าดูอยู่ หลวงท้ายน้ำซึ่งเป็นแม่ทัพใหญ่จึงได้ยกทัพผ่านจังหวัดตรัง มาตั้งทัพที่เมืองตะลิบง(ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรังในปัจจุบัน) เพื่อที่จะยกกองทัพมาทางเรือ ไปเมืองถลาง ในการเดินทัพในครั้งนั้นได้กวาดต้อนคนในพื้นที่จังหวัดตรัง สตูลมาช่วยรบกับกองทัพพม่าด้วย กองทัพของหลวงท้ายน้ำได้นัดกับกองทัพหัวเมืองในภาคใต้ให้มารวมทัพกันที่เกาะ ยาวน้อย (ซึ่งในปัจจุบันสถานที่ตั้งกองทัพที่เกาะยาวน้อยได้เรียกว่า “บ้านท่าค่าย”) เมื่อกองทัพทั้งหมดมาพร้อมกัน ก็ยกกองทัพผ่านไปทางเกาะนาคาและไปขึ้นทีเมืองถลางต่อไป หลังเสร็จสงครามทหารและพลเมืองที่โดนกวาดต้อนมากับกองทัพส่วนหนึ่งก็ไม่เดิน ทางกลับ ได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เกาะยาว ที่มาจาก จังหวัดตรังก็ตั้งบ้านเรือนที่ เกาะยาวน้อย เช่น นายอุเส็น นายอุสัน ตั้งบ้านเรือนที่โล๊ะหา(อ่าวใน) ที่มาจากจังหวัดสตูลและเมืองไทรบุรี ที่นำโดย หวัน มาลี ก็ตั้งบ้านเรือนที่เกาะยาวใหญ่
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=790022